ความรัก

เรื่องความรัก                 

       คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับความรักพระองค์ตัรสเป็นพุทธภาษิตไว้ว่า“ปิยโตชัยเตโสโก” 

ความโศกย่อมเกิดแก่ของที่รักคำว่า“ความรัก” ถ้าเป็นภาษามคธบาลีว่าปิยะหรือปิโยแปลว่าความรักมีความหมายว่าการที่เอาจิตใจเอาอารมณ์หรือว่าเอาชีวิตไปผูกพันไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งด้วยความพอใจยินดีเรียกว่าความรัก

          พระพุทธเจ้าตรัสว่าความรักเป็นสิ่งนำมาซึ่งความทุกข์โศกทำไมเป็นอย่างนั้น? ขอให้สังเกตดีๆความรักของปุถุชนเป็นความรักที่ไม่เกี่ยวกับความจริงตัวอย่างเช่นบางคนไปรักสัตว์ 2 เท้า 4 เท้าเท้ามากและไม่มีเท้าหมูแมวสุนัขเป็นต้นการแสดงความรักของปุถุชนที่ไปรักสัตว์เหล่านี้ย่อมเป็นการแสดงที่ไม่ตรงกับความจริงที่ตัวเองเป็นผู้มีความรักคือเอามาเลี้ยงเพื่อประโยชน์ของตนไม่ใช่ประโยชน์ของสัตว์เช่นบางคนเอาสัตว์สี่เท้าวัวควายแมวหมูพอโตขึ้นมาก็เอาไปขายไปฆ่าเป็นอาหารการที่เลี้ยงดูมาเป็นหลายปีอันนั้นไม่ตรงกับความจริงหลอกลวงเพราะสัตว์ที่ถูกเลี้ยงเขาหลงผิดว่าเป็นพ่อแม่เขาตายใจว่าเขารักจริงสักพักหนึ่งพอจะเห็นรายได้ก็ขายไปเอาไปฆ่าหรือฆ่าเองเลยความรักอย่างนี้แหละตรงกับพระพุทธเจ้าสอนว่าปิยโตขัยเตโสโกความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รักการที่เรารักสัตว์แล้วได้เวลาพอประมาณพอได้ประโยชน์ก็ขายให้ผู้อื่นฆ่าเพื่อหาผลประโยชน์จะเกิดความโศกเศร้าได้อย่างไรจริงอยู่ความทุกข์ยังตามไม่ถึงสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตอยู่ในโลกนี้มีความรักตนทุกสัตว์เมื่อเราเอาเขามาเลี้ยงแล้วหลอกลวงเขาพร้อมกับหลอกลวงตัวเองเพราะฉะนั้นเมื่อเราเอาเขามาฆ่าขายเอาเงินมากินหารายได้สัตว์ที่ถูกฆ่าก็ผูกเวรไว้เมื่อเวรกรรมที่สัตว์เราเลี้ยงถูกฆ่าตามทันเขาก็ทำให้เราโศกเศร้าโสกาคือรับทุกข์ตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติศีลข้อแรกไว้เป็นประมุขประธานก่อนกว่าศีลทั้งปวงทุกข้อความรักชนิดที่เรารักสัตว์โดยไม่จริงใจเมื่อเรารักคนจะเป็นพ่อแม่ลูกหลานครูอาจารย์มิตรสหายภรรยาสามีเป็นต้นหรือรวมไปถึงรักชาติศาสนาเมื่อเรามาแสดงความรักต่อบุคคลต่อสิ่งอื่นแล้วไม่ได้รับความรักตอบสนองเพราะเวรกรรมที่เราไปรักด้วยการหลอกลวงสัตว์มาแล้วหลายสัตว์หลายชนิดหลายประเภทเมื่อเรามารักในส่วนของคนหรือสังคมก็กลายเป็นโทษขึ้นมา

          เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่าปิยะโตชัยเตโสโกความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รักย่อมเกิดแต่บุคคลที่รักเพราะไปรักไม่มีความจริงใจต่อความรักที่เป็นการรักสัตว์เป็นต้นเวรกรรมที่ไม่จริงใจนั้นตามสนองเมื่อเราไปรักใครบุคคลใดสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งนั้นก็ไม่ตามสนองความรักของเราได้เพราะเวรกรรมมาขัดขวาง

พระพุทธเจ้าแสดงพุทธภาษิตในการที่คนจะรักแต่ให้รักไปในทางที่ชอบเพื่อจะไม่ให้เกิดความโศกเศร้าโสกากับความรักก็มีอยู่ว่าอัตตาหิปรมํปิโยตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่งความรักที่จะกระจายหรือขยายไปทางอื่นๆนั้นอันดับแรกพระพุทธเจ้าว่าให้รักตนเองก่อนตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่งเรายังไม่เข้าใจว่าจะรักตนให้รักอย่างยิ่งได้อย่างไร? ไปดูพุทธภาษิตท่อนสองว่าอัตตานันเจปิยังอันยารักไขยนํสุรักขิตํถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รักอย่างยิ่งแล้วให้รักษาตนให้ดีก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีให้ไปดูพุทธภาษิตท่อนที่สามว่าโยรักขติอัตตานํรักขิโยตัสสะผู้ใดรักษาตนดีแล้วสิ่งภายนอกของบุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกรักษาด้วยผู้ที่จะรักผู้อื่นสัตว์อื่นนอกจากตัวไปแล้วเราควรรักษาตนก่อนอัตตาหิปรมํปิโยตนแลเป็นที่รักอย่างยิ่งต้องมีคำอธิบายพุทธภาษิตท่อนสองผู้ใดรู้ว่าตัวเองเป็นที่รักอย่างยิ่งถ้ารู้แล้วควรรักษาตนให้ดีอันนี้คนทุกชาติทุกภาษาไม่มีใครสามารถรักษาตนได้ด้วยตนเองถ้าอย่างนั้นเราจะรักษาตนวิธีใดจึงเรียกว่าเป็นผู้รักษาตนอย่างดีพุทธภาษิตสั้นๆว่าธัมโมหเวรักขติธัมจาริงแปลว่าธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเพราะตนในตนไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเราเป็นตนที่เกิดโดยปาฎิหารย์อัตโนมัติเนรมิตเราไม่ได้สร้างเองเพราะฉะนั้นการรักษาตนไม่ใช่เรารักษาควรให้ธรรมเป็นผู้รักษาให้ธรรมที่มารักษาตนในเมื่อตนรักตนอย่างยิ่งคือกุศลธรรมสุจริตธรรมธรรมส่วนที่ดีทำให้ผู้ที่ปฏิบัติตามเป็นคนฉลาดกุศลธรรมสุจริตธรรมทำให้คนประพฤติดี 10 ประการเริ่มต้นปาณาติบาตเจตนางดเว้นจากการฆ่าสิ่งมีชีวิตและลมปราณมาเลี้ยงชีวิตสร้างฐานะข้อสองอทินนาทานข้อสามกาเมสุมิจฉาจารจนถึงข้อสิบเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลผู้ใดปฏิบัติทั้ง 10ข้อในการดำรงชีวิตในโลกบุคคลนี้เรียกว่าเป็นผู้มีกุศลธรรมรักษาชีวิตไว้อย่างดีพร้อมกันนั้นรักษาสิ่งภายนอกด้วยเมื่อกุศลกรรมสุจริตธรรมกุศลวิบากคุ้มครองรักษาแล้วคนนี้ชื่อว่าธัมโมหเวรักขติธัมมะจาริงธรรมที่เป็นกุศลธรรมที่ตัวเองประพฤติปฏิบัติเป็นประจำวันนั้นเองเป็นสิ่งที่มารักษาคนๆนี้แปลว่าคนๆนี้ไม่มีเวรไม่มีภัยไม่มีผู้ใดสิ่งใดจะพยาบาทอาฆาตจองเวรสิ่งภายนอกที่เป็นทรัพย์สมบัติต่างๆก็เป็นอันว่าถูกรักษาด้วยถ้าขยายวงกว้างออกไปเมื่อเราประพฤติปฏิบัติกุศลธรรมสุจริตธรรมก็แปลว่าเป็นการแสดงรักษาตนอย่างดีแล้วสิ่งที่จะมารักษาตนอย่างดีนี้คือกุศลวิบากผลของการประพฤติปฏิบัติกุศลธรรมสุจริตธรรมนั่นเองมาดูแลรักษาเราไม่ให้ประสบภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวงมีราชภัยโจรภัยอัคคีภัยวาตภัยอุทกภัยโรคภัยอุบัติภัยวินาศภัยเป็นต้นที่เราเรียกกันว่ารักชาติศาสนาพระมหากษัตริย์รักสังคมเป็นต้นเป็นอันว่าถูกรักษาด้วยแล้วแสดงความรักษาด้วยรูปแบบการปฏิบัติกุศลกรรมเพราะเป็นการรักตนเมื่อเรามีความรักตนก่อนดังที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่เข้าหลักพุทธภาษิตที่ว่าความโศกย่อมเกิดแต่คนและของที่รักบุคคลที่รักย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะเราแสดงความรักโดยชอบ

          ตามหลักฐานและเหตุผลที่ได้ชี้แจงมาโดยละเอียดแล้วด้วยประการฉะนี