หลักและวิธีการใช้ชีวิต

ตามหลักธรรมในหน้าที่การงาน

๑. ชีวิตคืออะไร ?

– ความหมายและประเภทของชีวิต

๑. ชีวิต มีนิยามว่า “ความเป็นอยู่” คือ เป็นชีวิตที่ยังไม่ตาย

๒.สิ่งมีชีวิต ในโลกนี้มีอยู่ ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ๖ (คน สัตว์ พืชหรือต้นไม้)

๒.ชีวิตมีองค์ประกอบเท่าไร

๑. ธาตุ ๔. คือ ที่ตั้งที่เกิดของชีวิต (ส่วนประกอบของร่างกาย)

๒. ขันธ์ ๕. คือ กลุ่มธรรมที่มาปฏิบัติงานในธาตุสี่หรือในร่างกาย

๓. อายตนะ ๖. คือ จุดเชื่อมต่อระหว่างอารมณ์ภายนอกและภายใน

๔. ธาตุ ๑๘. คือ ที่ตั้งที่เกิดแห่งอารมณ์ของชีวิต

๕. อินทรีย์ ๒๒. คือสิ่งที่เป็นใหญ่และมีอำนาจสิทธิ์ขาดในชีวิต

๓.ชีวิตเป็นอย่างไร

๑. อนิจจลักษณะ. คือ มีลักษณะไม่เที่ยง (เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)

๒. ทุกขลักษณะ. คือ มีลักษณะเป็นทุกข์ (เป็นปัญหาในตัว)

๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะเป็นอนัตตา (เป็นตนที่ไม่ใช่ตน) ไม่ตกอยู่ในอำนาจของใคร ๆ จึงเรียกว่า “อนัตตา”

๔. ในชีวิตมีธรรมอะไรอยู่บ้าง

๑. กุศลธรรม หรือความสุจริต คือ ความดี ๑๐ อย่าง

๒. อกุศลธรรม หรือความทุจริต คือ ความชั่ว ๑๐ อย่าง

๓. อนันตริยกรรม หรือความชั่วอย่างร้ายแรงที่สุด ๕ อย่าง

๔. อัพยากตธรรม หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน สายกลาง คือ ความไม่ดีและไม่ชั่ว ๔ อย่าง   (วิปัสสนา ฯ สติปัฏฐาน ๔)

๕. ชีวิตดำเนินไปได้กี่ทาง

๑. ทางเดินของชีวิตไปสู่ “สุคติ” คือ คติที่ดี ได้แก่ มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ซึ่งเป็นโลกของผู้มีจิตวิญญาณเจริญ

๒. ทางเดินไปสู่ “ทุคติ” คือ คติที่ชั่ว ได้แก่ อบายโลก ซึ่งเป็นโลกของคนผู้มีจิตวิญญาณเสื่อม ๖ จำพวก

๓. ทางเดินไปให้หลุดพ้นจากสุคติและทุคติ คือ โลกุตตระหรือนิพพาน

๖. ที่ว่าชีวิตเสื่อมเป็นอย่างไร ?

ชีวิตที่เสื่อมอย่างลึกลับ ๖ ลักษณะ คือ

๑. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “สัตว์นรก” ใน ๔๕๗ ขุม

๒. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “เปรต” อย่างน้อยมีเปรตอยู่ ๒๕ จำพวกขึ้นไป

๓. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “เดียรัจฉาน” มีอยู่ ๔ จำพวก

๔. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “อสุรกาย” มีอยู่จำพวกเดียว

๕. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “อมนุษย์” มีอยู่ ๑๒ พวกเดียว

๕. ชีวิตคนผู้มีจิตวิญญาณเป็น “มาร” มีอยู่ ๕ จำพวก

ชีวิตที่เสื่อมอย่างเปิดเผย ๑๐ ลักษณะ คือ

๑. ชีวิตประสบกับราชภัย ทางราชการจับไปลงโทษ

๒. ชีวิตประสบกับโจรภัย ถูกโจรทำร้ายชีวิตและทรัพย์สิน

๓. ชีวิตประสบกับอัคคีภัย ชีวิตหรือทรัพย์สินถูกไฟไหม้

๔. ชีวิตประสบกับวาตภัย ชีวิตหรือทรัพย์สินถูกลมพัด

๕. ชีวิตประสบกับอุทกภัย ชีวิตหรือทรัพย์สินถูกน้ำท่วม

๖. ชีวิตประสบกับวิวาทภัย เกิดการทะเลาะวิวาท

๗. ชีวิตประสบกับโรคภัย เกิดโรคร้ายในชีวิต

๘. ชีวิตประสบกับอุปัตติภัย (อุบัติเหตุ) ความร้ายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

๙. ชีวิตประสบกับทุพภิกขภัย เครื่องบริโภคอุปโภคราคาแพง

๑๐. ชีวิตประสบกับวินาศภัย ความพินาศอย่างใหญ่หลวง

๗. ที่ว่าชีวิตเจริญเป็นอย่างไร

ชีวิตที่เจริญอย่างลึกลับ ๔ ลักษณะ คือ

๑. คนผู้มีจิตวิญญานเป็นมนุษย์ ๔ จำพวก

๒. คนผู้มีจิตวิญญานเป็นเทวดา ๖ จำพวก

๓. คนผู้มีจิตวิญญานเป็นพระพรหม ๒๐ จำพวก

๔. คนผู้มีจิตวิญญานเป็นพระอริยบุคคล ๔ จำพวก

ชีวิตที่เจริญอย่างเปิดเผย ๗ ลักษณะ คือ

๑. อายุวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยอายุ

๒. ธนะวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยทรัพย์สมบัติ

๓. สิริวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยศิริ หรือความสง่างาม

๔. ยสะวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์

๕. พละวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยกำลัง (กำลังภายใน)

๖. วัณณะวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยผิวพรรณ (ผิวพรรณผุดผ่อง)

๗. สุขะวัฑฒโก คนผู้มีชีวิตเจริญด้วยความสุข

๘. อาชีพการงานของชีวิตมีกี่อย่าง ?

๑. สัมมาอาชีวะ ได้แก่อาชีพการงานที่เป็นฝ่ายชอบ คือ อาชีพไม่ผิด

๒. มิจฉาอาชีวะ ได้แก่อาชีพการงานที่เป็นฝ่ายผิด คือ อาชีพไม่ชอบ

๓. อาชีววิบัติ ได้แก่อาชีพการงานที่เป็นฝ่ายชอบก็ไม่ใช่ฝ่ายผิดก็ไม่ใช่

๙. จะใช้ชีวิตตามหลักธรรมมใดจึงจะมีพลังและความสุขในหน้าที่การงาน

๑. ผู้มีจิตวิญญานเสื่อม ๖ จำพวก ย่อมใช้ชีวิตตามหลักอกุศลธรรม หรือ ความทุจริต ๑๐ อย่าง ในหน้าที่หน้าที่การงานเลี้ยงชีวิต

๒. ผู้มีจิตวิญญานเจริญ ๓ จำพวก ย่อมใช้ชีวิตตามหลักกุศลธรรม หรือ ความสุจริต ๑๐ อย่าง ในหน้าที่การงานเลี้ยงชีวิต

๓. ผู้มีจิตวิญญานหลุดพ้นจากความเสื่อมและความเจริญแล้ว ย่อมใช้ชีวิตตามหลัก              อัพยากตธรรม หรือวิปัสสนากัมมัฎฐาน สติปัฎฐาน ๔ สายตรงในหน้าที่การงาน (งานทางจิตวิญญาณ) เลี้ยงชีวิต 

๑๐. ใช้ชีวิตตามหลักธรรมมใดจึงจะมีพลังและความสุขในหน้าที่การงาน

(๑)เอาชีวิตไปอยู่กับสัตบุรุษผู้เจริญ (๒) สอบถามปัญหาธรรมแล้วปฏิบัติตามท่าน      (๓) ตั้งใจให้ชอบในการไปและอยู่ (๔) มีบุญในด้านนี้มาก่อนด้วย


พิมพ์จากหนังสือ

ชื่อหนังสือ

หลักและวิธีการใช้ชีวิตตามหลักธรรมในหน้าที่การงาน

พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐๐ เล่ม

พิมพ์ประกอบการบรรยายอบรมธรรม

ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

บรรยายโดย

พระครูสุคนธ์คณารักษ์ ค.ม. M.Ed.,

เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จังหวัดหนองริวหนัง

ตำบลลำหนองแสน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์